ประวัติศาสตร์เมืองน่าน

dfgdt

หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณจังหวัดน่าน เช่น เครื่องมือหิน กลองสัมฤทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีศพสำหรับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ เป็นเครื่องยืนยันว่าดินแดนนี้มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนสมัย ประวัติศาสตร์ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขุนน่าน และ ขุนฟอง ได้นำผู้คนอพยพจากตอนบนของแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานยังที่ราบลุ่มตอนบนของแม่ น้ำน่าน ใกล้กับเทือกเขาดอยภูคา และในปี พ.ศ. 1902 เจ้าพระยาการเมืองย้ายเมืองไปยังเวียงภูเพียงแช่แห้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ น่านซึ่งไม่ได้ใหญ่กว่าหรืออุดมสมบูรณ์กว่าเมืองปัวแต่ใกล้กับเมืองสุโข ทัยมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 1911 เจ้าพระยาผากองบุตรของเจ้าพระยาการเมืองได้ย้ายเมืองมายังฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นเมืองน่านในปัจจุบัน ตามศิลาจารึกหลักที่ 45 และ 46 ในปี พ.ศ. 1935 ปู่พระยา (เจ้าพระยาผากอง) และพระราชนัดดา (พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย) ได้ให้คำสาบานที่จะช่วยเหลือกันและกันในยามสงคราม ความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสุโขทัยได้ดำเนินมาจนกระทั่งสุโขทัยผนวกเข้ากับ อยุธยา ในปี พ.ศ. 1981

เมืองน่านมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายกับนครรัฐเล็กๆ รอบบ้าน เช่น หลวงพระบาง ล้านช้าง และสิบสองปันนา รัฐเหล่านี้มีความร่วมมือทางการเมืองอย่างเข้มแข็ง ทำการค้าขายกันตามเส้นทางแม่น้ำโขงด้วยคาราวานเกวียน

ก่อนหน้าที่น่านจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งชองล้านนาทั้งสองดินแดนมีความ สัมพันธ์กันผ่านการค้าวัวต่าง และเมื่อเชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่า ในระหว่างปี พ.ศ.2096-2101 เจ้าพระยาพลเทพรือชัย เจ้าเมืองน่านได้หลบหนีไปยังเมืองหลวงพระบาง และน่านตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310

ระหว่างปีพ.ศ. 2101 – 2317 น่านพยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากพม่าหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2246 ถือว่าเป็นช่วงเวลาทุกข์เข็ญ ผู้คนต้องหลบหนีสงครามเข้าป่า บางคนถูกจับเป็นเชลยในพม่า ทั้งเมืองและวัดถูกเผาทำลายลง ในปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าหลวงเมืองน่าน หันมาสวามิภักดิ์กรุงเทพฯ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1) เมื่อ พ.ศ.2333 น่านเริ่มนโยบาย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” มีการอพยพ ชาวไทลื้อจำนวนมากกลับสู่เมืองน่าน

ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงเทพฯถูกคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิด การปฏิรูปการปกครองหัวเมืองล้านนา เพื่อรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ.2435 รัฐบาลกลางกรุงเทพฯได้แต่งตั้งข้าหลวงเข้ามาแทนคณะขุนนางผู้ช่วยเจ้า ผู้ครองนครในการบริหารกิจการบ้านเมือง หลังจากเหตุการณ์ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ไทยต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่ฝรั่งเศส เมืองน่านจึงเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านติดกับเมืองหลวงพระ บางในลาว ซึ่งเป็นของฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าเมืองน่านกับกรุงเทพฯดำเนินไปด้วยดี รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นพระเจ้า สุริยพงษ์ผริตเดชเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่น่านช่วยกรุงเทพฯในสงครามปราบ กบฏที่เชียงตุง

นครเมืองน่านกลายเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 หลังจากเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าเมืองน่านองค์สุดท้ายถึงแก่กรรมในปีพ.ศ. 2474 จึงยกเลิกระบบการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา

ขอบคุณที่มา จากhttp://travel.kapook.com/view7171.html

ใส่ความเห็น